
ความดันต่ำ เป็นภาวะความดันเลือดในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ หรือ มีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) ในผู้ใหญ่ ภาวะความดันโลหิตต่ำยังแบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะในแต่ละช่วงเวลาที่ค่าความดันโลหิตลดลง เช่น ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า จะเกิดเมื่อมีการเปลี่ยนท่าทางอย่างทันทีทันใดจากการนั่งหรือนอนมาลุกขึ้นยืน หรือจากท่านอนมาเป็นท่านั่ง ความดันโลหิตต่ำหลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่ ความดันโลหิตต่ำขณะยืนเป็นเวลานาน หรือความดันโลหิตต่ำรุนแรงจนนำไปสู่อาการช็อก เป็นต้น
อาการของ ความดันต่ำ
อาการของภาวะ ความดันต่ำ โดยทั่วไปผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำก็มักไม่มีอาการเช่นเดียวกับโรคความดันโลหิตสูง อาการที่มักพบ เช่น จะรู้สึก เวียนศีรษะ ง่าย หรือหน้ามืดเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถจากท่าหนึ่งไปเป็นอีกท่าหนึ่ง และมักจะ รู้สึกอ่อนเพลียง่าย บางคนที่มีอาการของโรคความดันโลหิตต่ำมาก ก็อาจถึงขั้นเสื่อมสมรรถภาพทางเพศไปเลยก็มีนะ อาการโดยสรุป มีดังนี้
- หน้ามืด เป็นลม
- ทรงตัวไม่อยู่
- มองเห็นภาพไม่ชัด
- ใจสั่น ใจเต้นแรง
- อาการมึนงง สับสน
- คลื่นไส้
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- หายใจตื้นและถี่
- กระหายน้ำ
- ตัวเย็น ผิวซีด หนาวสั่น
ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเป็นชั่วคราว สามารถรักษาได้ด้วยตนเองสำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก หรือ ไม่มีอาการที่แสดงออกมาเล็กน้อย ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการดื่มน้ำมากๆ หยุดทำกิจกรรมในขณะนั้น ค่อยๆ นั่งพักหรือนอนลงชั่วครู่ แต่หากเป็นบ่อยหรือรุนแรงขึ้นควรรีบไปพบแพทย์
การตรวจความดันโลหิตต่ำ
การตวจภาวะ ความดันต่ำ เมื่อคุณเริ่มมีอาการวิง เวียนศีรษะ ง่าย และมักจะ รู้สึกอ่อนเพลีย ง่าย แพทย์จะทำการตรวจได้ดังนี้
- การตรวจเลือด เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งทำให้ทราบข้อมูลหลายส่วนในเลือด รวมไปถึงโรคโลหิตจาง หรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตต่ำ
- การตรวจระบบประสาท แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนลงบนโต๊ะตรวจเฉพาะที่ออกแบบให้สามารถปรับระดับความลาดเอียงได้ เพื่อตรวจดูค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยในขณะที่เปลี่ยนแปลงท่าทาง
- การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย เป็นการตรวจดูการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย เนื่องจากความผิดปกติของหัวใจบางอย่างสามารถตรวจพบได้ง่ายเมื่อหัวใจทำงานหนักและมีการสูบฉีดมากขึ้น ซึ่งโดนกระตุ้นจากการออกกำลังกาย
- การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงจังหวะการเต้นของหัวใจในขณะทำกิจกรรมบางอย่าง เพื่อวัดค่าความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ในขณะผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ หรือจุ่มมือลงในน้ำเย็นจัด
- การตรวจปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง แพทย์จะให้ผู้ป่วยเก็บปัสสาวะตลอดในช่วงระยะเวลา 24 ชั่วโมงลงในบรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้ให้ก่อนนำกลับมาส่งคืนให้แพทย์ เพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ